วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

อาหารพม่า

ภาพที่ 1: ชุดยำชาหมักที่นิยมเสิร์ฟหลังอาหารพม่าในชุดเครื่องเขิน ซึ่งมีการทำมากทางตอนเหนือของพม่า กระจุกสีเขียวตรงกลางคือ ชาหมัก "ละแเพ็ต" > Thank [ Wikimedia ]
อาหารแบบพม่าดั้งเดิมกินแต่อาหารสุกคล้ายๆ ชาวธิเบต (ชาวพม่าเป็นคนกลุ่มพม่า-ธิเบต แต่ชาวพม่ามีความเชื่อว่า คนพม่าอพยพมาจากอินเดีย และเป็นศากยวงศ์ หรือสักกวังสะ ปีใหม่พม่าหรือสงกรานต์จะมีการร้องเพลงว่า "เราเป็นศากยะ")
...
การที่ชาวพม่าเชื่อว่า สืบเชื้อสายมาจากอินเดียมีส่วนถูกอยู่บ้าง เนื่องจากอาณาจักรพม่า-ธิเบตเดิมกินอาณาบริเวณไล่ไปตามแนวเทือกเขาหิมาลัยจากทางตะวันตกของอินเดีย ตอนเหนือของบังคลาเทศ-พม่า-ธิเบตมาก่อน
หลังจากนั้นจึงอพยพ และตีลงมาทางด้านล่างบริเวณครึ่งบนของพม่า และครอบครองเขตอาณาจักรมอญได้ในเวลาต่อมา
... 
ผู้เขียนสังเกตว่า ชาวพม่ามักจะมีโครงสร้างกระดูกใหญ่กว่าคนในอาเซียน และมีเส้นเลือดที่แขนด้านหน้าเส้นกลาง 2 เส้น (antecubital veins) ซึ่งมักจะพบในคนที่มีโครงกระดูกใหญ่ ไม่เหมือนคนอาเซียนส่วนใหญ่ที่มักจะมีเส้นเลือดนี้ข้างละ 1 เส้น
ชาติที่กินอาหารสุกในประวัติศาสตร์มักจะมีประชากรมาก และรบชนะบ่อย... ทางเอเชียคือ จีนและพม่า
...
การที่พม่าบุกไทยได้หลายครั้งในอดีตอาจเป็นผลจากอหิวาตกโรคระบาดหลายครั้งในไทย ทำให้ประชากรไทยลดต่ำอย่างรุนแรงหลายช่วง ส่วนชาวพม่ามักจะปลอดภัย เนื่องจากอาหารพม่าส่วนใหญ่เป็นอาหารสุก
พม่าอาจรับวัฒนธรรมการกินอาหารยำ ("ต้ก") หลังจากตีมอญจนอาณาจักรมอญล่มสลาย 
...
การที่ชาวพม่าเชื่อว่า สืบเชื้อสายมาจากศากยวงศ์ หรือสักกวังสะ ทำให้ชาวพม่ามีความเชื่อว่า คนพม่ามี "ความบริสุทธิ์ (purity)" ของชาติพันธุ์สูง (ชาวพม่าเล่าว่า จะร้องเพลงเรื่องนี้กันตอนปีใหม่ หรือสงกรานต์พม่า)
ชาติที่มีความเชื่อว่า เผ่าพันธุ์มีความบริสุทธิ์สูงในเอเชียได้แก่ ญี่ปุ่น พม่า และเขมร... เมื่อรบมักจะใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะรบกับคนชาติอื่น หรือคนกลุ่มน้อย
...
ทุกวันนี้ไทยกับพม่าพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าเพื่อนบ้านชาติอื่นๆ... ไทยพึ่งแรงงาน และทรัพยากร โดยเฉพาะแก๊สจากพม่า (ถ้าไม่มีแรงงานราคาถูกจากพม่า โรงงานไทยอย่างน้อยหลายพันแห่งจะแข่งขันกับจีนและเวียดนามไม่ได้)
ส่วนพม่าพึ่งนักท่องเที่ยว รายได้จากการส่งออกแรงงาน ขายแก๊สจากไทย และต่อไป... พม่าจะเป็นจุดผ่าน (transit) สำคัญของภูมิภาค เช่น จีนกำลังสร้างท่อน้ำมันจากรัฐยะไข่ไปทางตอนใต้ของจีน และจะเปิดเส้นทางการค้าผ่านพม่าไปยังบังคลาเทศ ฯลฯ
... 
การที่ไทยจะเปิดเส้นทางการค้าไปยังบังคลาเทศได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ไทยคงต้องง้อพม่า มากกว่าพม่าง้อไทย
ภาวะโลกร้อนและฝนแล้งจะทำให้ราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวและถั่ว (พม่าไม่ได้กินถั่วเก่งอย่างเดียว ปลูกถั่วก็เก่ง แถมลูกดกอีกต่างหาก) 
...
อาจกล่าวได้ว่า 10 ปีนับจากนี้จะเป็น "ขาขึ้น" ของการพัฒนา และเปลี่ยน "ประวัติศาสตร์" ประเทศพม่าไปในทางที่ดี และรวยขึ้นด้วย
... 
ภาพที่ 2: 'laphet-thoke' = "ละแพ็ต-ต้ก" ชาวพม่าชอบกินถั่ว และอาหารที่ทำจากถั่วคล้ายแขก > Thank [ Wikimedia ]
...
ภาพที่ 3: ร้านขายของชำพม่า... พวกชาหมัก ถั่ว หอมแดงนี่ขาดไม่ได้เลย [ RFA ]
..............................................................................................
 
หนังสือพิมพ์อิระวดีออนไลน์รายงานว่า หลังจากพบนม และผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนสารเมลามีนจากจีนแล้ว
คราวนี้ก็มาถึงการพบสารเคมีในชาหมัก และ "งาปิ๊" บ้าง (shrimp paste = กะปิ; ต้นฉบับน่าจะพิมพ์ผิด เนื่องจากงาปิ๊พม่าทำจากปลา กลิ่นคล้ายปลาร้ามากกว่ากะปิ ชาวพม่าที่เคยกินอาหารไทยบอกว่า กะปิไทยมีกลิ่นนุ่มนวล; shrimp = กุ้งเล็ก: paste = ของเหลวหนืดๆ เช่น ยาสีฟัน ฯลฯ)
...
กระทรวงสาธารณสุขพม่ารายงานว่า ได้ห้ามขายชาหมัก งาปิ๊ และยาแผนโบราณของพม่ามาหลายสิบยี่ห้อแล้ว
สารเคมีที่ทางการพม่าตรวจพบได้แก่ สีย้อมออรามีน โอ (auramine O) สีเหลือง พบในอาหาร 43 รายการ, สีย้อมโรดามีน บี (rhodamine B) พบในงาปิ๊ 37 รายการ
...
สีโรดามีน บี ใช้ย้อมเสื้อผ้า กระดาษ และเครื่องหนัง
ยาแผนโบราณพม่าพบมีการปนเปื้อนสารตะกั่วและสารหนูจากตัวอย่างเด็กๆ ลูกหลานชาวพม่าที่อพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ
...
สิงคโปร์และมาเลเซียห้ามนำเข้าชาหมักจากพม่าแล้ว ส่วนไทยยังไม่ห้าม ทั้งๆ ที่มีแรงงานพม่าในไทยประมาณ 2 ล้านคน หรือน้อยกว่านั้นเล็กน้อย
หนังสือพิมพ์อิระวดียกสำนวนที่น่าฟังมาว่า 'Old eating habits die hard...' แปลว่า "นิสัย (สันดาน) ในการกินนั้นเลิกได้ยาก (die hard = ตายยาก แก้ไขได้ยาก)"
...

ที่ยกเรื่องนี้มาเล่า ไม่ได้หมายความว่า อาหารไทยจะปลอดภัยอะไร เพราะมีการสำรวจหม้อก๋วยเตี่ยวไทยพบว่า เชื่อมด้วยสารตะกั่วมากถึง 80%, กุ้งแห้งไทยก็พบมีการใส่สีเช่นกัน
การกินข้าว-กับข้าวทำเองที่บ้านอย่างน้อยวันละ 1 มื้อช่วยให้พวกเราปลอดภัยมากขึ้น
...
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
อ้างอิง http://health2u.exteen.com/20090622/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น